วันอาทิตย์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ดาวเทียมไทยคม



ไทยคม 1

ไทยคม 1A ดาวเทียมดวงแรกของประเทศไทย เป็นดาวเทียมรุ่น HS-376 สร้างโดย Huges Space Aircraft (บริษัทลูกของ โบอิง) โคจรบริเวณพิกัดที่ 120 องศาตะวันออก ส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2536 มีอายุการใช้งานประมาณ 15 ปี (ถึง พ.ศ. 2551)
เดิมดาวเทียมดวงนี้อยู่ที่พิกัด 78.5 องศาตะวันออก เรียกชื่อว่า ไทยคม 1 เมื่อย้ายมาอยู่ที่ 120 องศาตะวันออก เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2540 จึงเรียกชื่อใหม่ว่า "ไทยคม 1A"

พื้นที่ให้บริการในย่านความถี่ C-Band
ดาวเทียมไทยคม 1A และดาวเทียมไทยคม 2 ครอบคลุม ไทย, ลาว, กัมพูชา, พม่า, เวียดนาม, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, เกาหลี, ญี่ปุ่น, และชายฝั่งด้านตะวันออกของจีน

ตำแหน่ง: 
0°0′N 120°0′E

                                                                ไทยคม 2

ไทยคม 2 ดาวเทียมดวงที่สองของประเทศไทย เป็นดาวเทียมรุ่น HS-376 เช่นเดียวกับ ไทยคม 1A โคจรบริเวณพิกัดที่ 78.5 องศาตะวันออก ส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2537 มีอายุการใช้งานประมาณ 15 ปี (ถึง พ.ศ. 2552)
พื้นที่ให้บริการในย่านความถี่ C-Band
ดาวเทียมไทยคม 1A และดาวเทียมไทยคม 2 ครอบคลุม ไทยลาวกัมพูชาพม่าเวียดนามมาเลเซียฟิลิปปินส์เกาหลีญี่ปุ่น, และชายฝั่งด้านตะวันออกของจีน

ตำแหน่ง: 
0°0′N 78°5′E

                                                    ไทยคม 3

ไทยคม 3 เป็นดาวเทียมรุ่น Aerospatiale SpaceBus 3000A โคจรบริเวณพิกัดเดียวกับ ไทยคม 2 คือ 78.5 องศาตะวันออก มีพื้นที่การให้บริการ (footprint) ครอบคลุมพื้นที่มากกว่า 4 ทวีป สามารถให้บริการในเอเซีย ยุโรป ออสเตรเลีย และแอฟริกา และถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ตรงถึงที่พักอาศัยหรือ Direct-to-Home (DTH) ในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน ส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อ 16 เมษายนพ.ศ. 2540 มีอายุการใช้งานประมาณ 14 ปี แต่ปลดระวางไปเมื่อปี 2549 เนื่องจากมีปัญหาเรื่องระบบไฟฟ้าไม่พอ
สถานะ : ปลดระวาง
พื้นที่ที่ดาวเทียมไทยคม 3 เคยให้บริการ
ทวีปแอฟริกา : แอลจีเรีย, มาลี, อังโกลา, โมร็อคโค, เบนิน, โมซัมบิก, บอตสวานา, นามิเบีย, บรูคินา ฟาโซ, ไนเจอร์, บูรุนดี, ไนจีเรีย, แคเมอรูน, วันดา, แอฟริกากลาง, โซมาเลีย, ชาด, แอฟริกาใต้,คองโก, ซูดาน, สวาซิแลนด์, ดิกโบติ, แทนซาเนีย, อียิปต์, โทโก, เอธิโอเปีย, ตูนีเซีย, กาบอง, อูกันดา, กานา, ไซเร, กัวเนีย, ไอโวรี่ โคสต์, ซิมบาเบ, เคนยา, เลโซโท, ลิเบีย, มาดากัสการ์, มาลาวี
ทวีปเอเชีย : อัฟกานิสถาน, อาร์เมเนีย, อาเซอร์ไบจาน, บาเรน, บังกลาเทศ, ฎูฐาน, บรูไน, กัมพูชา, จีน, จอร์เจีย, ฮ่องกง, อินเดีย, อินโดนีเซีย, อิหร่าน, อิรัก, อิสราเอล, ญี่ปุ่น, จอร์แดน, คาซัคสถาน, เกาหลีเหนือ, เกาหลีใต้, คูเวต, คีรกีซ์สถาน, ลาว, เลบานอน, มาเลเซีย, มองโกเลีย, พม่า, เนปาล, โอมาน, ปาเลสไตน์, ปาปัวนิวกินี, ปากีสถาน, ฟิลิปปินส์, กาตาร์, ซาอุดิอาราเบีย, สิงค์โปร์, ศรีลังกา, ซีเรีย, ไต้หวัน, ทาจิกิสถาน, ตุรกี, เติร์กเมนิสถาน, สหรัฐอาหรับ, อุซเบกีสถาน, เวียดนาม, เยเมน
ทวีปโอเซียเนีย : ออสเตรเลีย
ทวีปยุโรป : อัลบาเนีย, อันดอร์ร่า, ออสเตรีย, บอสเนีย, เฮอร์เซโกวีนา, บัลแกเรีย, โครเทีย, ครีรัส, เช็ก, เอสโทเนีย, ฟินแลนด์, ฝรั่งเศส, เยอรมัน, กรีซ, ฮังการี, อิตาลี, ลัทเวีย, ลิทัวเนีย, ลักแซมเบิรก์, มาเซโดเนีย, โมนาโค, โมลโดวา, เนเธอร์แลนด์, นอร์เวย์, โปแลนด์, โรมาเนีย, รัสเซีย, เฟเดอราชั่น, เซอร์เบีย, สโลวาเกีย, สโลวาเนีย, สเปน, สวีเดน, สวิสต์เซอร์แลนด์

ตำแหน่ง:
0°0′N 78°5′E

                                                     ไทยคม 4

ไทยคม 4 หรือ ไอพีสตาร์ เป็นดาวเทียมรุ่น LS-1300 SX สร้างโดย Space System/Loral พาโล อัลโต สหรัฐอเมริกา เป็นดาวเทียมดวงแรกที่ออกแบบมาเพื่อให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ที่ความเร็ว 45 Gbps เป็นดาวเทียมสื่อสารเชิงพาณิชย์ที่มีขนาดใหญ่ และมีน้ำหนักมากถึง 6486 กิโลกรัม และทันสมัยที่สุดในปัจจุบัน ส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2548 มีอายุการใช้งานประมาณ 12 ปี
ตำแหน่ง:
0°0′N 120°0′E

                                                  ไทยคม 5

ไทยคม 5 เป็นดาวเทียมรุ่น Aerospatiale SpaceBus 3000A (รุ่นเดียวกับไทยคม 3) สร้างโดย Alcatel Alenia Space ประเทศฝรั่งเศส มีน้ำหนัก 2800 กิโลกรัม มีพื้นที่การให้บริการครอบคลุมพื้นที่ 4 ทวีป ใช้เป็นดาวเทียมสำหรับการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมตรงถึงที่พักอาศัยหรือ Direct-to-Home (DTH) และการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ดิจิตอลความละเอียดสูง (High Definition TV) ส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 เพื่อทดแทนไทยคม 3
ย่านความถี่ C-Band : 25 ทรานสพอนเดอร์
ย่านความถี่ C-Band Global Beam พื้นที่ให้บริการครอบคลุม 4 ทวีป ได้แก่ เอเชีย, ยุโรป, ออสเตรเลีย, แอฟริกา
ย่านความถี่ Ku-Band : 14 ทรานสพอนเดอร์
ย่านความถี่ Ku-Band ของ Spot Beam พื้นที่ให้บริการครอบคลุม ไทย, ประเทศในภูมิภาคอินโดจีน
ย่านความถี่ Ku-Band ของ Steerable Beam พื้นที่ให้บริการครอบคลุม เวียดนาม, ประเทศในภูมิภาคอินโดจีน
ตำแหน่ง:
0°0′N 78°5′E



                                                          ไทยคม 6


ไทยคม6 เป็นดาวเทียมรุ่น สร้างโดย Space Exploration Technologies (SpaceX) มีน้ำหนัก3000 กิโลกรัม มีพื้นที่การให้บริการครอบคลุมพื้นที่ 4 ทวีป ใช้เป็นดาวเทียมสำหรับการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมตรงถึงที่พักอาศัยหรือ Direct-to-Home (DTH) และการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ดิจิตอลความละเอียดสูง (High Definition TV)
ย่านความถี่ C-Band : 18 ทรานสพอนเดอร์
ย่านความถี่ C-Band Global Beam พื้นที่ให้บริการครอบคลุม 4 ทวีป ได้แก่ เอเชีย, ยุโรป, ออสเตรเลีย, แอฟริกา
ย่านความถี่ Ku-Band : 8 ทรานสพอนเดอร์
ย่านความถี่ Ku-Band ของ Spot Beam พื้นที่ให้บริการครอบคลุม ไทย, ประเทศในภูมิภาคอินโดจีน
ย่านความถี่ Ku-Band ของ Steerable Beam พื้นที่ให้บริการครอบคลุม เวียดนาม, ประเทศในภูมิภาคอินโดจีน
ตำแหน่ง:
0°0′N 78°5′E



วันจันทร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

สาย Cat 3 , Cat 4 , Cat 5 , Cat 5e , Cat 6



Category 3 (Cat 3)

เป็นสาย UTP ที่ภายในมีสายสัญญาณจ านวน 4 คู่ โดยมีข้อก าหนดระบุ
ไว้ว่า สายแต่ละคู่จะต้องน ามาบิดเกลียวอย่างน้อย 3 รอบต่อ 1 ฟุต รองรับความเร็ว
ในการส่งข้อมูลที่ 10  Mbps  สายชนิดนี้น ามาใช้กับเครือข่ายอีเทอร์เน็ต (10 
Mbps) โทเคนริง (4 Mbps)  ที่ใช้งานบนเครือข่ายยุคเก่า ปัจจุบันสายประเภทนี้
ถูกทดแทนด้วยสาย CAT 5 เนื่องจากมีประสิทธิภาพเหนือกว่า



Category 4 (Cat 4)
เป็นสาย UTP  ที่ภายในมีสายสัญญาณจ านวน 4  คู่ รองรับความเร็ว
สูงสุดที่ 20  Mbps  ถูกออกแบบให้ป้องกันสัญญาณรบกวนได้ดีกว่า CAT  1, 
CAT 2 และ CAT 3 รวมถึงส่งข้อมูลได้เร็วกว่า


Category 5 (Cat 5)


เป็นสาย UTP  ที่ภายในมีสายสัญญาณจ านวน 4  คู่ รองรับความเร็วสูงถึง 
100 Mbps  นิยมน ามาใช้กับเครือข่ายท้องถิ่น โดยสายสัญญาณทั้ง 4 คู่ (8 เส้น) จะ
ถูกหุ้มด้วยฉนวนพลาสติกที่มีสีต่างๆ ก ากับอยู่ จัดเป็นสายสัญญาณที่ป้องกันสัญญาณ
รบกวนได้ดี เนื่องจากการบิดเกลียวของสายที่มี Twist Ratio จ านวนมากถึง 12 รอบต่อ
ความยาว 1  ฟุต ปัจจุบันสาย CAT  5  จัดเป็นมาตรฐานขั้นต่ าที่น ามาใช้บนเครือข่าย
ท้องถิ่น


Enhanced   Category 5 (Cat 5e)


เป็นสาย UTP  ที่มีคุณภาพสูง โดยใช้ลวดตัวน าสัญญาณคุณภาพสูง และมีการ
บิดเกลียวของ Twist Ratio ที่เพิ่มขึ้น จึงสามารถป้องกันสัญญาณรบกวนแบบครอสทอล์ก
ได้เป็นอย่างดี สาย CAT  5e  สามารถน ามาใช้งานบนเครือข่ายท้องถิ่น รองรับความเร็ว
สูงสุดที่ 100 Mbps


Category 6 (Cat 6)

เป็นสาย UTP  ที่รองรับความเร็วสูงถึง 1  Gbps เป็นสายคู่บิดเกลียวที่
เพิ่มส่วนของฉนวนที่เรียกว่า ฟอยล์ (Foil)  ซึ่งเป็นแผ่นโลหะบางๆ ใช้ป้องกัน
สัญญาณรบกวนได้ดียิ่งขึ้น รองรับอัตราความเร็วที่ 250 MHz

การเปรียบเทียบคุณสมบัติ

Category 3  : รองรับความเร็วในการส่งข้อมูลที่ 10  Mbps ปัจจุบันสายประเภทนี้ถูกทดแทนด้วยสาย CAT 5 เนื่องจากมีประสิทธิภาพเหนือกว่า

Category 4 :   ถูกออกแบบให้ป้องกันสัญญาณรบกวนได้ดีกว่า CAT  1, CAT 2 และ CAT 3 รวมถึงส่งข้อมูลได้เร็วกว่า

Category 5 :  จัดเป็นสายสัญญาณที่ป้องกันสัญญาณรบกวนได้ดี เนื่องจากการบิดเกลียวของสายที่มี Twist Ratio จ านวนมากถึง 12 รอบต่อความยาว 1  ฟุต ปัจจุบันสาย CAT  5  จัดเป็นมาตรฐานขั้นต่ าที่น ามาใช้บนเครือข่ายท้องถิ่น

Category 5e :  ลวดตัวน าสัญญาณคุณภาพสูง และมีการบิดเกลียวของ Twist Ratio ที่เพิ่มขึ้น จึงสามารถป้องกันสัญญาณรบกวนแบบครอสทอล์กได้เป็นอย่างดี

Category 6 : รองรับความเร็วสูงถึง 1  Gbps เป็นสายคู่บิดเกลียวที่เพิ่มส่วนของฉนวนที่เรียกว่า ฟอยล์ (Foil)  ซึ่งเป็นแผ่นโลหะบางๆ ใช้ป้องกันสัญญาณรบกวนได้ดียิ่งขึ้น