วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

Access Point

การใช้งานเครือข่ายไร้สายนั้น นอกจากเราจะใช้มันเป็นตัวเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายหลักแบบมีสาย หรือที่เราเรียกว่า Infrastructure Mode หรือการทำงานที่ Access Point ธรรมดาๆทั่วไปทำงานได้เป็นพื้นฐานอยู่แล้ว

แต่ด้วยแต่ละพื้นที่ ที่จำเป็นต้องการใช้เครือข่าย wireless อาจจะประสบปัญหาเช่น ความแรงไม่พอ ต้องการต่อ Outdoor Wi-Fi Hotspot ที่อยู่ในระยะไกล, ต้องการแชร์อินเตอร์เน็ตที่มาจากผู้ให้บริการ, ต้องการขยายพื้นที่ใช้งาน, ต้องการแชร์อินเตอร์เน็ตบอร์ดแบนด์ หรือแม้แต่การเชื่อมต่อแบบ Point to Point

EnGenius ถือเป็นผลิตภัณฑ์ Wireless ที่มี Mode การทำงานให้เลือกมากที่สุดถึง 7 Mode เหนือกว่ายี่ห้ออื่นๆในระดับเดียวกัน รวมถึง ยังมีกำลังส่ง และภาครับสัญญาณวิทยุ ที่มีประสิทธิภาพสูงกว่า อย่างเห็นได้ชัด (สามารถเปรียบเทียบได้จาก Transmit Power และ Sensiblility จาก Datasheet ซึ่งมีหน่วยเป็น dBm)

ทำความรู้จักกับแต่ละ Mode กันว่า ท่านจะเลือกใช้ Mode ต่างๆ เมื่อใด ในสถานการณ์แบบใด

1.Access Point



โหมด Access Point คือโหมดพื้นฐานที่สุดของการใช้งาน Wireless อยู่แล้วนั่นคือ Access Point จะทำหน้าที่ในการเชื่อมต่อเครื่องลูกข่ายเข้าสู่ ระบบเครือข่ายแบบมีสาย เพื่อเข้าไปใช้งานอินเตอร์เน็ต หรือเข้าไปยังเครือข่าย LAN ของสำนักงานเป็นต้น โดยการเข้าถึงเครือข่ายอาจจะมีการเข้ารหัส (Encryption) โดยผู้ใช้งานจะต้องใส่ Key ก่อนเชื่อมต่อ บนมาตรฐาน WEP หรือ WPA เป็นต้น 

และสำหรับ AP ของ EnGenius บางรุ่นก็สามารถทำ Multi-SSID และ VLAN เพื่อแบ่ง Traffic ของผู้ใช้งานออกจากกันได้ด้วย

อ่านเรื่อง Multi-SSID/VLAN


2.Client Bridge


โหมด Client Bridge ก็คือ ตัวอุปกรณ์จะทำหน้าที่เหมือนเป็นตัวลูกข่ายเพื่อเข้าเชื่อมต่อกับ Access Point โดยในโหมดนี้ เหมาะสำหรับการเชื่อมต่อไปยัง AP ระยะไกล หรือเพื่อเชื่อมต่อเครือข่าย wireless สำหรับอุปกรณ์เครือข่ายที่ไม่มี wireless card เช่นกล้องวงจรปิดแบบ IP เป็นต้น


รูปแสดงการเชื่อมต่อไปยังอุปกรณ์ DVR เพื่อบันทึกภาพจากกล้อง IP-Camera


3.Client Router


Client Router จะมีการทำงานคล้ายกับ Mode Client Bridge แต่ว่า Mode นี้อุปกรณ์จะทำหน้าที่ NAT (Network Address Translation) ด้วย และมีฟังก์ชั่น DHCP ที่สามารถแจก IP Addresss ให้กับเครื่องลูกด้วย ในโหมดนี้ จะใช้ Wireless เป็น interface WAN และ ใช้พอร์ต RJ-45 เป็น interface LAN

พูดง่ายๆก็คือเอาไว้แชร์ Wireless Hotspot นั่นเอง เช่นเมื่อต่อ TRUE Wi-Fi หรือ Spider Hotspot แล้วต่อไปยัง switch เพื่อแชร์ให้ computer ในบ้านเรานั้น เราไม่จำเป็นต้องใช้ account login สำหรับทุกเครื่อง เพียงเครื่องใดเครื่องหนึ่ง login สำเร็จ เครื่องที่เหลือก็สามารถใช้งานได้ทันที (แม่เจ้ามันแหล่มจริงๆ)


รูปแสดงการเชื่อมต่อไปยัง Outdoor Wireless ISP (WISP) โดยอาศัย EOC-1650 ที่ทำงานในโหมด Client Bridge โดยทำงานเสมือนเป็น Modem สำหรับเชื่อมต่อ Internet นั่นเอง 

** AP ของ EnGenius ที่มีโหมด Client Router ทุกตัว สามารถทำการ Authentication ด้วย PPPoE ได้

4.Wireless Router


โหมดนี้ก็จะทำงานเหมือน Wireless Router ทั่วไปครับ คือจะใช้ พอร์ต RJ-45 เป็น WAN และแชร์อินเตอร์เน็ตผ่าน Interface Wireless ครับ แต่แน่นอนว่า AP ของ EnGenius แรง! ครอบคลุมพื้นที่ได้มากกว่าอย่างแน่นอน และยังสามารถนำมาประยุกต์เพื่อขยายสัญญาณ ด้วย Mode ถัดๆไปกำลังจะกล่าวถึงครับ


5.WDS Bridge


WDS Bridge คือการทำงานแบบ Point to Point โดยจะมีข้อแตกต่างจาก Client Bridge คือมันจะทำการส่งค่า MAC Address ของเครื่องลูกข่ายทั้งหมดผ่านไปยัง Interface Wireless ด้วย ซึ่งจะจำเป็นสำหรับการนำไปทำ Wi-Fi Hotspot เพราะผู้ให้บริการ จำเป็นต้องทราบ MAC Address ของเครื่องลูกค้าทุกคน

6.WDS AP


WDS AP ก็คือการทำ Repeater หรือการขยายสัญญาณ จาก AP ตัวหนึ่ง ไปยัง AP อีกตัวหนึ่ง (หรือหลายตัว) โดยสามารถทำการขยายต่อไปได้เรื่อยๆ (ยิ่งทำ WDS หลาย AP ความเร็วโดยรวมยิ่งตกลง) โดย WDS จะมีข้อดีกว่า Repeater คือ มันสามารถ ส่งผ่าน MAC Address ของ Client ผ่านไปยัง Interface Wireless ซึ่งเหมาะสำหรับ WISP ที่จะทำการ Repeat สัญญาณ

ข้อจำกัดของ WDS AP คือ ก่อนที่จะการ Repeat นั้น AP ทั้งคู่ที่จะเชื่อมต่อกัน จะต้องมีการกำหนดสิทธิ์ของกันและกันเสียก่อน ด้วยค่า MAC Address และ AP ในกลุ่มจะต้องมี Encryption เดียวกัน ใช้ Channel เดียวกัน รวมไปถึง SSID เดียวกันด้วย

7.Universal Repeater


Universal Repeater นั้นอุปกรณ์จะทำหน้าที่ทวนสัญญาณจาก AP ตัวใดๆก็ได้ ที่อยู่ในรัศมี ที่อุปกรณ์รับสัญญาณได้ เพื่อขยายพื้นที่ให้บริการ รวมไปถึงมันยังสามารถเปลี่ยนชื่อ SSID เดิมให้เป็น SSID ใหม่ ที่เรากำหนดขึ้นได้ โหมดนี้ ถือเป็นโหมดเจ้าเล่ห์ ที่หาตัวจับยากจริงๆ


หวังว่าทุกท่านคงจะได้รับ ความรู้ รวมไปถึง การเลือกใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสมกับการใช้งานของท่านนะครับ

อุปกรณ์ Wireless จาก EnGenius ที่สามารถทำได้ครบทั้ง 7 Mode คือ

Indoor AP
  • ECB-1220R
  • ECB-3220
  • ECB-3500
  • ECB-9500
Outdoor AP (มีโหมด AP, CB, CR, AP WDS, WDS Bridge)
  • EOC-1650
  • EOC-2610
  • EOC-5610
  • สำหรับ EOC-1650, EOC-2610 และ EOC-5610 ขณะนี้สามารถำทำ WDS AP และ Multiple-SSID ได้แล้วครับ 

วันอาทิตย์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2556

การเชื่อมต่อ Notebook 2 เครื่อง แบบไร้สาย

การเชื่อมต่อ Notebook 2 เครื่อง แบบไร้สาย
แบบ Win 7
1. ที่ task bar มุมขวามือด้านล่างของหน้าจอ จะปรากฏสัญลักษณ์ ต่างๆ ดังนี้
     1.1 จับสัญญาณได้แล้ว
          
     1.2 ปิด wireless ที่เครื่องคอม หรือ บริเวณนั้นไม่มีสัญญาณ wireless ที่ใดๆ
          
     1.3 กำลังจับสัญญาณ หรือจับสัญญาณได้แต่ยังไม่ได้ connect (แบบ manual)
          
2. คลิกซ้ายหรือคลิกขวา แล้วเลือกไปที่  “Open Network and Sharing Center”
3. คลิกที่  “Manage wireless networks”  (ถ้าสัญลักษณ์ wireless เป็นตามข้อ 1.2 จะไม่พบ เมนูนี้)
4. คลิกที่  Add
5. คลิกที่  “Create an ad hoc network”
6. คลิก Next
7. กำหนดชื่อ Network name และ Security ซึ่งต้องกำหนดให้ตรงกับเครื่องที่เป็น hoc network ด้วย แล้วคลิก Next
8. ปรากฏข้อความ “The (ชื่อ network name) network is ready to use”  คลิก Close
9. ตรวจสอบชื่อ hoc network ที่ตั้งค่าไว้และ connect ที่ task bar มุมขวา ด้านล่างของหน้าจอ

การเชื่อมต่อ คอมพิวเตอร์ 2 เครื่อง

การเชื่อมต่อ คอมพิวเตอร์ 2 เครื่อง

วิธีโอนย้ายไฟล์ระหว่างคอมพิวเตอร์ 2 เครื่อง



วิธีที่ 1 กรณีมี Switch / Hub

อุปกรณ์ที่จำเป็นต้องมี
  1. Switch / Hub
  2. สายเคเบิล CAT5, CAT5e หรือ CAT6 เรียกรวมๆ ว่า สายแลน
  3. คอมพิวเตอร์ต้องมี LAN card ทั้งสองเครื่อง


วิธีที่ 2 กรณีไม่มี Switch / Hub
อุปกรณ์ที่จำเป็นต้องมี
  1. สายเคเบิล CAT5, CAT5e หรือ CAT6 เรียกรวมๆ ว่า สายแลน ที่เรียกว่า "Cross Cable" สายไขว์กัน
  2. คอมพิวเตอร์ต้องมี LAN card ทั้งสองเครื่อง


วิธีเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ 2 เครื่องเข้าด้วยกัน


  1. ทั้ง 2 วิธีจะมีหลักการคล้ายๆ กัน คือวิธีที่ 1 ต่อสายแลนจากคอมพิวเตอร์เข้า Switch แต่ถ้าเป็นกรณีที่ 2 ต้องสายแลนเข้าด้วยกันระหว่างสองคอมพิวเตอร์
  2. กำหนด IP Address ให้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน โดยการเข้าเมนู Control Panel
  3. คลิกเลือก Network Connection
  4. ให้เลือก Lan Area Connection คลิกขวาเลือก Properties
  5. ในช่อง "This connection uses the following items" ให้คลิกเลือก "Internet Protocol (TCP/IP) และคลิก Properties
  6. พิมพ์ IP Address ดังนี้
    • IP Address: 192.168.0.100
    • Subnet mask: 255.255.255.0
    • Default Gateway: 192.168.0.1
  7. สำหรับคอมพิวเตอร์อีกเครื่องให้พิมพ์เหมือนกัน ยกเว้น IP Address ให้พิมพ์ต่างกัน เช่น 192.168.0.101 เป็นต้น
  8. จากนั้นให้คลิกไอคอน My Network Places
  9. คลิก View workgroup computers
  10. จากนั้น คุณจะเห็นคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่ง ให้คลิกเลือกได้เลย
  11. ถ้าเครื่องคอมฯ อีกเครื่องมี password คุณจะต้องใส่ user name และ password ให้ถูกต้องด้วย


วันอาทิตย์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ระบบปฏิบัติการ ของ Apple

Apple
รุ่น                                                             ระบบปฏิบัติการ

iPhone  3G                                                   iOS 
iPhone  3GS                                                 iOS เวอร์ชั่น 10.4.11
iPhone  4                                                     iOS เวอร์ชั่น 4
iPhone  4s                                                    iOS เวอร์ชั่น 5.0.1
iPhone  5                                                     iOS เวอร์ชั่น 6

iPad 1                                                         iOS เวอร์ชั่น 5
iPad 2                                                         iOS เวอร์ชั่น 5
The New iPad                                              iOS เวอร์ชั่น 5

iPod 4 touch                                                iOS เวอร์ชั่น 4  






วันอาทิตย์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ดาวเทียมไทยคม



ไทยคม 1

ไทยคม 1A ดาวเทียมดวงแรกของประเทศไทย เป็นดาวเทียมรุ่น HS-376 สร้างโดย Huges Space Aircraft (บริษัทลูกของ โบอิง) โคจรบริเวณพิกัดที่ 120 องศาตะวันออก ส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2536 มีอายุการใช้งานประมาณ 15 ปี (ถึง พ.ศ. 2551)
เดิมดาวเทียมดวงนี้อยู่ที่พิกัด 78.5 องศาตะวันออก เรียกชื่อว่า ไทยคม 1 เมื่อย้ายมาอยู่ที่ 120 องศาตะวันออก เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2540 จึงเรียกชื่อใหม่ว่า "ไทยคม 1A"

พื้นที่ให้บริการในย่านความถี่ C-Band
ดาวเทียมไทยคม 1A และดาวเทียมไทยคม 2 ครอบคลุม ไทย, ลาว, กัมพูชา, พม่า, เวียดนาม, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, เกาหลี, ญี่ปุ่น, และชายฝั่งด้านตะวันออกของจีน

ตำแหน่ง: 
0°0′N 120°0′E

                                                                ไทยคม 2

ไทยคม 2 ดาวเทียมดวงที่สองของประเทศไทย เป็นดาวเทียมรุ่น HS-376 เช่นเดียวกับ ไทยคม 1A โคจรบริเวณพิกัดที่ 78.5 องศาตะวันออก ส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2537 มีอายุการใช้งานประมาณ 15 ปี (ถึง พ.ศ. 2552)
พื้นที่ให้บริการในย่านความถี่ C-Band
ดาวเทียมไทยคม 1A และดาวเทียมไทยคม 2 ครอบคลุม ไทยลาวกัมพูชาพม่าเวียดนามมาเลเซียฟิลิปปินส์เกาหลีญี่ปุ่น, และชายฝั่งด้านตะวันออกของจีน

ตำแหน่ง: 
0°0′N 78°5′E

                                                    ไทยคม 3

ไทยคม 3 เป็นดาวเทียมรุ่น Aerospatiale SpaceBus 3000A โคจรบริเวณพิกัดเดียวกับ ไทยคม 2 คือ 78.5 องศาตะวันออก มีพื้นที่การให้บริการ (footprint) ครอบคลุมพื้นที่มากกว่า 4 ทวีป สามารถให้บริการในเอเซีย ยุโรป ออสเตรเลีย และแอฟริกา และถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ตรงถึงที่พักอาศัยหรือ Direct-to-Home (DTH) ในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน ส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อ 16 เมษายนพ.ศ. 2540 มีอายุการใช้งานประมาณ 14 ปี แต่ปลดระวางไปเมื่อปี 2549 เนื่องจากมีปัญหาเรื่องระบบไฟฟ้าไม่พอ
สถานะ : ปลดระวาง
พื้นที่ที่ดาวเทียมไทยคม 3 เคยให้บริการ
ทวีปแอฟริกา : แอลจีเรีย, มาลี, อังโกลา, โมร็อคโค, เบนิน, โมซัมบิก, บอตสวานา, นามิเบีย, บรูคินา ฟาโซ, ไนเจอร์, บูรุนดี, ไนจีเรีย, แคเมอรูน, วันดา, แอฟริกากลาง, โซมาเลีย, ชาด, แอฟริกาใต้,คองโก, ซูดาน, สวาซิแลนด์, ดิกโบติ, แทนซาเนีย, อียิปต์, โทโก, เอธิโอเปีย, ตูนีเซีย, กาบอง, อูกันดา, กานา, ไซเร, กัวเนีย, ไอโวรี่ โคสต์, ซิมบาเบ, เคนยา, เลโซโท, ลิเบีย, มาดากัสการ์, มาลาวี
ทวีปเอเชีย : อัฟกานิสถาน, อาร์เมเนีย, อาเซอร์ไบจาน, บาเรน, บังกลาเทศ, ฎูฐาน, บรูไน, กัมพูชา, จีน, จอร์เจีย, ฮ่องกง, อินเดีย, อินโดนีเซีย, อิหร่าน, อิรัก, อิสราเอล, ญี่ปุ่น, จอร์แดน, คาซัคสถาน, เกาหลีเหนือ, เกาหลีใต้, คูเวต, คีรกีซ์สถาน, ลาว, เลบานอน, มาเลเซีย, มองโกเลีย, พม่า, เนปาล, โอมาน, ปาเลสไตน์, ปาปัวนิวกินี, ปากีสถาน, ฟิลิปปินส์, กาตาร์, ซาอุดิอาราเบีย, สิงค์โปร์, ศรีลังกา, ซีเรีย, ไต้หวัน, ทาจิกิสถาน, ตุรกี, เติร์กเมนิสถาน, สหรัฐอาหรับ, อุซเบกีสถาน, เวียดนาม, เยเมน
ทวีปโอเซียเนีย : ออสเตรเลีย
ทวีปยุโรป : อัลบาเนีย, อันดอร์ร่า, ออสเตรีย, บอสเนีย, เฮอร์เซโกวีนา, บัลแกเรีย, โครเทีย, ครีรัส, เช็ก, เอสโทเนีย, ฟินแลนด์, ฝรั่งเศส, เยอรมัน, กรีซ, ฮังการี, อิตาลี, ลัทเวีย, ลิทัวเนีย, ลักแซมเบิรก์, มาเซโดเนีย, โมนาโค, โมลโดวา, เนเธอร์แลนด์, นอร์เวย์, โปแลนด์, โรมาเนีย, รัสเซีย, เฟเดอราชั่น, เซอร์เบีย, สโลวาเกีย, สโลวาเนีย, สเปน, สวีเดน, สวิสต์เซอร์แลนด์

ตำแหน่ง:
0°0′N 78°5′E

                                                     ไทยคม 4

ไทยคม 4 หรือ ไอพีสตาร์ เป็นดาวเทียมรุ่น LS-1300 SX สร้างโดย Space System/Loral พาโล อัลโต สหรัฐอเมริกา เป็นดาวเทียมดวงแรกที่ออกแบบมาเพื่อให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ที่ความเร็ว 45 Gbps เป็นดาวเทียมสื่อสารเชิงพาณิชย์ที่มีขนาดใหญ่ และมีน้ำหนักมากถึง 6486 กิโลกรัม และทันสมัยที่สุดในปัจจุบัน ส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2548 มีอายุการใช้งานประมาณ 12 ปี
ตำแหน่ง:
0°0′N 120°0′E

                                                  ไทยคม 5

ไทยคม 5 เป็นดาวเทียมรุ่น Aerospatiale SpaceBus 3000A (รุ่นเดียวกับไทยคม 3) สร้างโดย Alcatel Alenia Space ประเทศฝรั่งเศส มีน้ำหนัก 2800 กิโลกรัม มีพื้นที่การให้บริการครอบคลุมพื้นที่ 4 ทวีป ใช้เป็นดาวเทียมสำหรับการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมตรงถึงที่พักอาศัยหรือ Direct-to-Home (DTH) และการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ดิจิตอลความละเอียดสูง (High Definition TV) ส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 เพื่อทดแทนไทยคม 3
ย่านความถี่ C-Band : 25 ทรานสพอนเดอร์
ย่านความถี่ C-Band Global Beam พื้นที่ให้บริการครอบคลุม 4 ทวีป ได้แก่ เอเชีย, ยุโรป, ออสเตรเลีย, แอฟริกา
ย่านความถี่ Ku-Band : 14 ทรานสพอนเดอร์
ย่านความถี่ Ku-Band ของ Spot Beam พื้นที่ให้บริการครอบคลุม ไทย, ประเทศในภูมิภาคอินโดจีน
ย่านความถี่ Ku-Band ของ Steerable Beam พื้นที่ให้บริการครอบคลุม เวียดนาม, ประเทศในภูมิภาคอินโดจีน
ตำแหน่ง:
0°0′N 78°5′E



                                                          ไทยคม 6


ไทยคม6 เป็นดาวเทียมรุ่น สร้างโดย Space Exploration Technologies (SpaceX) มีน้ำหนัก3000 กิโลกรัม มีพื้นที่การให้บริการครอบคลุมพื้นที่ 4 ทวีป ใช้เป็นดาวเทียมสำหรับการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมตรงถึงที่พักอาศัยหรือ Direct-to-Home (DTH) และการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ดิจิตอลความละเอียดสูง (High Definition TV)
ย่านความถี่ C-Band : 18 ทรานสพอนเดอร์
ย่านความถี่ C-Band Global Beam พื้นที่ให้บริการครอบคลุม 4 ทวีป ได้แก่ เอเชีย, ยุโรป, ออสเตรเลีย, แอฟริกา
ย่านความถี่ Ku-Band : 8 ทรานสพอนเดอร์
ย่านความถี่ Ku-Band ของ Spot Beam พื้นที่ให้บริการครอบคลุม ไทย, ประเทศในภูมิภาคอินโดจีน
ย่านความถี่ Ku-Band ของ Steerable Beam พื้นที่ให้บริการครอบคลุม เวียดนาม, ประเทศในภูมิภาคอินโดจีน
ตำแหน่ง:
0°0′N 78°5′E